วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559


พันธุ์วัวต่างๆ





     
 หลังจากกรมปศุสัตว์ดำเนินโครงการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ       "ไทย-แบล็ค" ที่นำพ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์แองกัส ผสมกับแม่พันธุ์พื้นเมืองของไทย มาตั้งแต่ปี 2548 ผ่านไปแล้ว 8 ปี ขณะนี้พอมองทางสว่างแล้วว่า ประเทศไทยจะสามารถผลิตโคเนื้อคุณภาพสูงมีไขมันแบบไม่อิ่มกระจายแทรกตามกล้ามที่ทำให้รสหนุ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกภายใน 10 ปี และถึงเวลานั้นจะได้เห็นโคเนื้อไทยราคาตัวละหลักแสนบาท ไม่แพ้โคเนื้อชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อโกเบของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย อย่างแน่นอน
            โคพื้นเมือง โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย 
ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก. ลูกโคเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก
                                                                                                   ปัจจุบันเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นอาหารที่สำคัญของมนุษย์ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ ซึ่งให้สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะโปรตีน ดังนั้นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จึงเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ 

ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ 

การเลี้ยงสัตว์ให้ประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมากมายหลายประการ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถสร้างฐานะจนร่ำรวยได้ เป็นอาชีพที่ได้ผลตอบแทนสูง หากมองในภาพรวมตั้งแต่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ได้ 4 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้ 



1. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ 
สัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือ สุกร ไก่และเป็ด ล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสินค้าจำหน่ายเพื่อการบริโภค เนื้อ นม ไข่ โดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้หลายชนิดทำเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ได้หลาย ๆ ประเภท สินค้าบางชนิด มีปริมาณมากจนกระทั่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย นับว่าผลผลิตจากสัตว์นี้ ช่วยลดการเสียดุลการค้าได้ประการหนึ่ง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545) ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรจะมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากทิศทางของระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งไปสู่การประกอบการด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์นับเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทย 

2. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านเกษตรกรรม 
การเลี้ยงสัตว์มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ หลายด้าน ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ทั้งสิ้น คือ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น