วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีเลี้ยงวัว
         


                วิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การเลี้ยงแม่โคเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์โคที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงโค ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าโคพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร ข้อดี 1. เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี 2. ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ 3. ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี 4. ใช้แรงงานได้ดี 5. แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือ โคกบินทร์บุรี 6. มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย 7. สามารถใช้งานได้ ข้อเสีย 1. เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด 2. ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก 3. เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยากเนื้อ                                                                                        โค หรือ เนื้อวัว หมายถึง อวัยวะกล้ามเนื้อของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง ที่เรียกว่า โค หรือ วัว ซึ่งไม่รวมความถึง หนัง เขา กีบ และเครื่องในของสัตว์ชนิดนั้นๆ ด้วย เนื้อโคเป็นประเภทกล้ามเนื้อลาย(Striated muscle) มีลักษณะเป็นเส้นยาวเรียกว่าใยกล้ามเนื้อ(Muscle fiber) ซึ่งจะโตกว่าเซลล์ของเนื้อหมู
เนื้อโคที่ดีและสะอาดจะต้องมาจากกระบวนการฆ่า การชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจรับรองจากพนักงานตรวจเนื้อสัตว์ ของกระทรวงเกษตรฯ ในประเทศนั้นๆ เนื้อโคที่สด สะอาด จะมีลักษณะสีแดง ไม่ดำหรือคล้ำ และต้องไม่มีการปนปื้อน ตกค้างของ สารเคมี ยา จุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคต่อผู้บริโภคได้
ในความเชื่อบางศาสนา เช่น ศาสนาฮินดู หรือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน การรับประทานเนื้อวัว ถือว่าผิดหลักศาสนา

วิธีการจัดการเลี้ยงดู 

       

การเลือกพันธุ์วัว


       พันธุ์วัว สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์วัว เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัวพันธุ์เนื้อพื้นเมืองของไทยเราน่ะครับ 



วัวพื้นเมือง

วัวพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับวัวพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
ลูกวัวเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่วัวเนื้อ การเลี้ยงวัวเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกวัวให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่วัวสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกวัวมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

            ประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์

                       มนุษย์ใช้สัตว์แบบทุกชนิดเป็นอาหาร มนุษย์สมัยโบราณล่าจับสัตว์มาเป็นอาหาร นับแต่สัตว์ที่ล่าหรือจับได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น งู แย้ ฯลฯ จนกระทั่งคิดเครื่องมือจับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และล่าได้ยากขึ้น จนสามารถล่าและจับสัตว์มาเป็นอาหารได้มากขึ้น เมื่อเหลือจากการบริโภคก็กักขังสัตว์ไว้ใช้เป็นอาหารในวันต่อไป 

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559


พันธุ์วัวต่างๆ





     
 หลังจากกรมปศุสัตว์ดำเนินโครงการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อคุณภาพ       "ไทย-แบล็ค" ที่นำพ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์แองกัส ผสมกับแม่พันธุ์พื้นเมืองของไทย มาตั้งแต่ปี 2548 ผ่านไปแล้ว 8 ปี ขณะนี้พอมองทางสว่างแล้วว่า ประเทศไทยจะสามารถผลิตโคเนื้อคุณภาพสูงมีไขมันแบบไม่อิ่มกระจายแทรกตามกล้ามที่ทำให้รสหนุ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกภายใน 10 ปี และถึงเวลานั้นจะได้เห็นโคเนื้อไทยราคาตัวละหลักแสนบาท ไม่แพ้โคเนื้อชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อโกเบของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย อย่างแน่นอน
            โคพื้นเมือง โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย 
ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก. ลูกโคเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก
                                                                                                   ปัจจุบันเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นอาหารที่สำคัญของมนุษย์ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ ซึ่งให้สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะโปรตีน ดังนั้นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จึงเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ 

ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ 

การเลี้ยงสัตว์ให้ประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมากมายหลายประการ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถสร้างฐานะจนร่ำรวยได้ เป็นอาชีพที่ได้ผลตอบแทนสูง หากมองในภาพรวมตั้งแต่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ได้ 4 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้ 



1. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ 
สัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือ สุกร ไก่และเป็ด ล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสินค้าจำหน่ายเพื่อการบริโภค เนื้อ นม ไข่ โดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้หลายชนิดทำเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ได้หลาย ๆ ประเภท สินค้าบางชนิด มีปริมาณมากจนกระทั่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย นับว่าผลผลิตจากสัตว์นี้ ช่วยลดการเสียดุลการค้าได้ประการหนึ่ง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545) ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรจะมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากทิศทางของระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งไปสู่การประกอบการด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์นับเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทย 

2. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านเกษตรกรรม 
การเลี้ยงสัตว์มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ หลายด้าน ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ทั้งสิ้น คือ